ถ้ำเขาบินแห่งนี้ กรมป่าไม้ได้ระเบิดปากถ้ำออกเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2525 เป็นถ้ำขนาดใหญ่ มีพื้นที่ภายในถ้ำประมาณ 5ไร่เศษ ทางเดินภายในถ้ำปรับปรุงให้สามารถเดินชมบริเวณถ้ำได้อย่างสะดวก มีระยะทางประมาณ 500 เมตร ภายในถ้ำแบ่งออกเป็น 8 ห้อง แต่ละห้องมีความงามแตกต่างกัน
ถ้ำเขาบินเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ ที่เกิดจากการกระทำของน้ำ ซึ่งเชื่อว่าถ้ำทุกแห่งเคยอยู่ใต้น้ำมาก่อนด้วยกันทั้งสิ้น ธรรมชาติของ การเกิดรูปร่างของถ้ำฯโดยทั่วไป เกิดจากการกัดเซาะของน้ำ เมื่อระดับน้ำภายในถ้ำมีระดับที่ขึ้น-ลง แตกต่างกันตลอดทำให้เกิดลักษณะ รูปทรงทางธรณีวิทยา ที่แปลกประหลาด เช่น เป็นโพรงเล็ก ใหญ่ ลึก มืด ชื้น แตกต่างกัน ช่องโพรงที่เป็นทางเดินของน้ำในปัจจุบันเกิดการอุดตันเมื่อเกิดฝนตกก็เหลือเพียงหยดน้ำเล็กๆ ที่ดูดกลืน CO2 (คาร์บอนไดออกไซด์) ในบรรยากาศไหลผ่านชั้นหินทำเกิดปฏิกิริยากลายเป็นกรดคาร์บอลิกอ่อน หรือแคลเซี่ยม คาร์บอเนต ทำให้เกิด หินงอก (Stalagmite) หินย้อย (stalactite) เสาหิน (Column หรือ Pillar) ตามธรรมชาติ จึงทำให้ภูมิทัศน์ภายในถ้ำเขาบินแห่งนี้มีลักษณะ สวยงามแตกต่างกันไป
การเกิดรูปทรงต่างๆ ของหินภายในถ้ำเขาบิน
1. หินที่มีรูปร่างเป็นหลอดหรือท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-4 นิ้ว
มีผนังบาง น้ำไหลไปตามรูตรงกลางเกิดเป็นวงแหวนของหินปูน ที่ปลายของหลอดหรือท่อ เกิดเป็นหินย้อยที่มีขนาดยาวขึ้นตรงปลาย อาจยาวได้ถึง 1.80 เมตร เรียกว่าท่อหรือหลอดหินย้อย (Soda Straws)
2. เมือหลอดหรือท่ออุดตันหยดน้ำจะไหลที่ผิวนอกแทนการไหลที่รูตรงกลาง เมื่อน้ำแห้งระเหยไป แร่ธาตุที่ตกตะกอนอยู่จะเคลือบหุ้มท่อหรือหลอดนั้นจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรียกว่า หินย้อย (stalactite)
3. น้ำที่หยดจากปลายของหินย้อยลงมายังพื้นถ้ำ เกิดเป็นหินงอกจากพื้นในตำแหน่งตรงกับหินย้อย หินงอกนี้มักจะมีปลายกลมมน เรียกว่า หินงอก (Stalagmite)
4. เมื่อหินย้อยยาวลงพื้น หรือหินงอกยาวขึ้นจรดเพดานหรือหินงอก
หินย้อยซึ่งอยู่ตรงกันยาวขึ้นมาเชื่อมต่อกัน เกิดเป็นเสาหิน(Column)
5. กลุ่มหินก้อนเล็กตะปุ่มตะป่ำ ขนาดและรูปร่างต่างๆกันเกิดจากธาตุแคลเซี่ยมคาร์บอเนต มักเกิดขึ้นบนผนังถ้ำในส่วนที่เคยมีน้ำท่วม จะมีรูปร่างเหมือนกับกระหล่ำปลีหรือปะการังหรือเม็ดข้าวโพด เรียกว่า ฟองหิน (Cave Grape)
6. หินที่มีลักษณะเหมือนผ้าม่าน เกิดจากการไหลหยดไปบนผิวผนัง ที่ลาดเอียงทีละหยดที่ไหลผ่านไปตามแนวเดิม เกิดเป็นแผ่นแคลเซี่ยมคาร์บอเนตที่มีความบางและมักจะโปร่งแสงงอกยาวออกไปเรื่อยๆ อาจมีความยาวได้หลายเมตร เรียกว่า ม่านหินปูน ( Draperies)
7. หินที่มีลักษณะเหมือนผ้าม่าน แต่จะมองเห็นแถบสีอ่อน สีแก่เป็น
ชั้นๆ อันเนื่องมาจากความแตกต่างของส่วนประกอบของแร่ธาตุ ในหยดน้ำ เรียกว่า ม่านเบคอน (Bacon Formation)
8. รูปร่างของหินที่ก่อตัวขึ้นมีลักษณะเหมือนเขื่อนที่กักน้ำไว้หรือ
เหมือนขั้นบันได เกิดในบริเวณพื้นถ้ำหรือตามแนวทางน้ำไหล เมื่อน้ำไหลล้นเขื่อน ก็จะทิ้งตะกอนหินปูนพอกพูนขึ้นเรื่อยๆ เรียกว่า ทำนบหินปูน (Rim stone Dams)
9. เมื่อน้ำไหลเป็นแผ่นบางๆ สม่ำเสมอผ่านกำแพง พื้นหรือหินงอก
หินย้อยเดิม เกิดเป็นแผ่นของหินปูนลักษณะเหมือนแผ่นที่มาฉาบหน้าอยู่เรียกว่า น้ำตกหินปูน (Flowstone Dams)
10. เม็ดหินกลมลักษณะเหมือนไข่มุก โดยมากจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน1 นิ้ว เกิดจากหินปูนที่ไปห่อหุ้มเม็ดทราย หรือตะกอนขนาดเล็ก เรียกว่า ไข่มุกหินปูน (Came Pearls)
11. หินที่มีรูปร่างเป็นเกลียว งอกออกจากผนัง พื้นหรือจากหินงอก หินย้อยเดิมก็ได้ สาเหตุทีมีรูปร่างบิดเบี้ยวเป็นตัวหนอนนี้ เกิดจากน้ำที่ไหลหยดอย่างช้าๆก่อนเกิดการระเหย ทำให้เกิดผลึกตะกอนที่ปลายในตำแหน่งที่ต่างๆกันไป เรียกว่า เกลียวหินปูน (Hesitates)
12. หินที่มีรูปร่างเหมือนกลีบดอกไม้ จะพบบนผนังถ้ำที่ค่อนข้างแห้ง เป็นหินที่งอกเพิ่มเติมจากตรงโคน โดยที่กลีบแต่ละกลีบจะถูกดันออกมา ไม่ใช่ตรงปลายหินงอกหินย้อย ความยาวของกลีบนี้อาจจะยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร หรือมากกว่า เรียกว่า ดอกไม้หิน (Gym sum Flowers)
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น